SD-WAN
SD-WAN – Software-defined Wide-area Network
SD-WAN ย่อมาจาก Software-defined Wide-area Network โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยี SDN ที่ใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาเพื่อช่วยควบคุมการเชื่อมต่อรวมไปถึงจัดการบริการระหว่าง Data Center, สาขาต่าง ๆ หรือการใช้งานคลาวด์ ด้วยการแบ่งแยกระหว่าง Data Plane และ Control Plan นั่นเอง เพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจนั้นสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการหยุดชะงัก และไม่ส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรช้าลงและเกิดการสูญเสียได้
SD-WAN ถือเป็นวิธีการจัดการเครือข่ายที่ทันสมัยและจะได้รับการยอมรับในอนาคต อีกทั้งยังให้ประโยชน์มากมายกับองค์กรที่ใช้ระบบคลาวด์ (Cloud) เป็นหลัก โดยจะปรับการทำงานให้เหมาะกับการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ ซึ่งผู้ดูแลระบบจะสามารถนำการปรับเปลี่ยนต่างๆ มาใช้กับ Router ทั้งหมดในเครือข่ายได้ในคราวเดียว เรียกได้ว่าจะช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการได้อย่างมากมายและช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้โซลูชันการใช้งานก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Router, Switch หรือ Virtualized Customer Premise Equipment (vCPE) ที่สามารถรันซอฟต์แวร์ที่จัดการ Policy, Security, Network หรือเครื่องมือบริหารจัดการอื่นได้เช่นกัน
ในส่วนของความสามารถที่โดดเด่นของ Software-defined Wide-area Network นั้นคือการจัดการการเชื่อมต่อได้หลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น MPLS, LTE หรือ Broadband ซึ่งสามารถทำ QoS ทราฟฟิคตามการใช้งานไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ ภาพ เสียง หรือ ข้อมูลได้ด้วย รวมถึงความสามารถในการ Segment และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้ทราฟฟิคที่วิ่งข้าม WAN ด้วยนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของการใช้งานทราฟฟิกที่วิ่งผ่านลิงก์ของเรา โดยผู้ให้บริการหลายรายสามารถตรวจสอบ delay หรือ loss ของแอปพลิเคชั่นได้ ร่วมกับใช้ฟังก์ชั่น load-sharing เพื่อย้ายหรือกระจายข้อมูลไปบนลิงก์ที่มีคุณภาพดีกว่าในช่วงเวลานั้นๆ
องค์ประกอบของ SD-WAN
- ทำหน้าที่อยู่ที่ Branch Office หรือ Remote Office
- rchestrator มองเป็น Centralized management tool ตัวที่จัดการSoftware-defined Wide-area Network Devices ตั้งแต่ provisioning, configuring, monitoring เป็นต้น
นอกจากนี้เองยังประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ VPN PPTP, IPSEC, L2TP, Open, PPPoE, SSTP, EOIP, IP Bonding, MPLS, VPLS, BGP, MP-BGP, RSVP, OSPF, Load Balance ฯลฯ โดยในบางผลิตภัณฑ์อาจอ้างถึง Protocol รูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นการผสมผสานคุณลักษณะของ Protocol หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเกี่ยวข้องถึงการ Customize การรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
หากพูดถึงในส่วนที่เป็น Network Security SD-WAN สามารถกำหนดโซนปลอดภัย รวมถึงบังคับใช้ Policy ตามแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์การใช้งานอย่าง AWS หรือ Office 365 เป็นต้น ซึ่งในส่วนของ Cloud เองนั้น องค์กรจะถูกกระตุ้นด้วยการใช้งานแอปพลิเคชันและ Container ที่ต้องวิ่งข้ามระหว่าง On-premise, Edge, Cloud และ ดาต้าเซ็นเตอร์ ตัว Software-defined Wide-area Network จะสามารถ Provision การเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นได้ว่า Vendor ต่างพยายามไปจับมือกับ Public Cloud เพื่อทำ SD-WAN Optimization
BEV Cyber Security ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
ด้าน IT & Cyber Security อันดับ 1 ที่หลายองค์กรเชื่อมั่น
เพิ่มความปลอดภัยแบบเหนือชั้นให้กับข้อมูลในองค์กรของคุณ
BEV Cyber Security มีโซลูชันมากมายที่ช่วยให้ธุรกิจและองค์กรของคุณได้รับการปกป้อง ป้องกัน และลดความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ดิจิทัลของคุณจากภัยอันตรายที่อาจแฝงมาโดยการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตเพื่อไม่ให้คุณต้องตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ อีกทั้ง BEV Cyber ยังมีโซลูชันที่คอยตรวจสอบระบบในองค์กรและตรวจหาช่องโหว่พร้อมแจ้งเตือนไม่ให้ธุรกิจของคุณเกิดอันตราย ซึ่งสามารถมั่นใจได้เลยว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนสินทรัพย์ดิจิทัลของคุณจะปลอดภัยได้อย่างหมดห่วง
WHY BEV?
• เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเจ้าเดียวในประเทศไทยของหลากหลายแบรนด์ชั้นนำระดับโลก
• อันดับ 1 ด้านบริการเทคโนโลยีทั้งซอฟต์แวร์และระบบห้องประชุมพร้อมทีมงานมืออาชีพที่คอย support ตลอด 24 ชั่วโมง
• ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าด้วยราคาที่ดีที่สุด
Contact us!
ติดต่อขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรอย่างเร่งด่วนได้ทันที หรือสอบถามเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ LINE : @birdseyeview และ E-mail : leadcrm@birdseyeview.co.th
Tel. : 02-114-8364 หรือ 085-556-5466, 084-463-4664, 081-841-9102 และ 088-153-3303